แนวทาง กระบวนการและคณะกรรมการผู้ร่างกฎหมาย

ภายหลังที่สมาคมฯได้จัดให้มีการประชุมกำหนดกรอบและแนวทางการร่างกฎหมายขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2547 โดยมีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากสถาบันต่างๆจำนวน 10 คน ผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชน 10 คน นักวิชาการ 1 คน กรรมการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย จำนวน 4 คน และผู้แทนสื่อมวลชนขององค์กรนั้น ซึ่งในที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางปฏิบัติสำคัญ 2 ประการคือ

  1. กรอบการร่างกฎหมายให้ครอบคลุมสัตว์ 4 ประเภท กล่าวคือ
    • สัตว์เศรษฐกิจ
    • สัตว์เลี้ยง
    • สัตว์ป่า
    • สัตว์ทดลอง
  2. กระบวนการยกร่าง และผลักดันกฎหมาย
    1. กำหนดแนวทางร่างกฎหมาย
    2. แต่งตั้งคณะทำงานร่างกฎหมายจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและผู้อาวุโสในวงการ
    3. จัดเวทีสัมนาเพื่อหาเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยกระบวนการ AIC
    4. ยกร่างกฎหมายโดยคณะทำงานที่ได้รับแต่งตั้ง
    5. ทบทวน ตรวจสอบร่าง โดยคณะนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ
    6. เปิดประชาพิจารณ์ โดยตัวแทนองค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ภาคเอกชน ภาคประชาคมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์
    7. พิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมายฯ โดยคณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ จากกระบวนการประชาพิจารณ์
    8. นำเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันเข้าสู่กระบวนการ
    9. พัฒนาเครือข่ายประชาคมทั่วประเทศ เพื่อร่วมผลักดัน
    10. รวบรวมรายชื่อสนับสนุน 1.5 แสนรายชื่อ (ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 กำหนด 50,000 รายชื่อ) เพื่อยื่นเสนอแก่ประธานรัฐสภาฯ
    11. แต่งตั้งคณะทำงานอาวุโส (ที่เป็นที่ยอมรับของประชาชน) เพื่อติดตามความคืบหน้าและประสานงานฯลฯให้บรรลุเป้าหมาย

นายสวรรค์ แสงบัลลังค์ ผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ซึ่งเป็นเจ้าภาพโครงการได้กล่าวอย่างหนักแน่นว่า “เพื่อให้การรณรงค์กฎหมายป้องกันการทารุณสัตว์ในประ เทศไทยประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สมาคมฯได้จัดตั้งคณะกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านกฎหมาย นักวิชาการ นักอนุรักษ์และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆมาร่วมกันทำงานโดยแบ่งเป็นคณะกรรมการ 2 คณะ กล่าวคือ

  1. คณะกรรมการร่างกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์
  2. คณะกรรมการที่ปรึกษาร่างกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์

โดยคณะกรรมการชุดที่ 1 นั้น ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยนิติกรและผู้ปฏิบัติงานด้านปกป้องคุ้มครองสวัสดิการสัตว์ ดังนี้

  1. คุณ โรเจอร์ โลหนันท์
    นายกสมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)
  2. คุณ ฐิราภรณ์ จูสกุล
    กรรมการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA)
  3. คุณ ธีระศักดิ์ ชึขุนทด
    นิติกร(ด้านสิ่งแวดล้อม) ตัวแทนจากสภาทนายความ
  4. คุณ โกเมน สิมากร
    นิติกรอาวุโส ศูนย์ซื้อขายตราสารหนึ้
  5. คุณ วิชญ เชยะกุล
    นิติกร จากสำนักงานกฎหมายและการบัญชีนิตินัย เชียงใหม่
  6. คุณ ศิริชัย โคตุโร
    นิติกร จากสำนักงานกฎหมายธรรมาวุธ อินเตอร์ลอว์
  7. คุณ เชิดชัย วงศ์งาม
    นิติกร จากS.P.B ทนายความและการบัญชี
  8. คุณ ชัชวาล ชื่นใจ
    นิติกร จากบริษัทศักยภาพกฎหมายและธุรกิจ จำกัด
  9. คุณ สัญญา ศุกระศร
    นิติกร จากสำนักงานกฎหมายสัญญา ศุกระศรและเพื่อน เชียงใหม่
  10. คุณ สวรรค์ แสงบัลลังค์
    ผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย

และที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สภาผู้แทนราษฎร

อดีตหัวหน้าโครงการรณรงค์เพื่อการไม่ค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมาย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF)

ส่วนคณะกรรมการชุดที่ 2 ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการและแนวทางการร่างกฎหมายพร้อมกับทบทวนร่างกฎหมายที่ได้ยกร่างจากคณะกรรมการชุดที่1ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสวัสดิการสัตว์และสวัสดิการสังคมในระดับประเทศ อาทิ

  1. คุณ วิชิต แก่นกำจร
    รองอธิบดีสำนักงานคดีศาลแขวง สำนักงานอัยการสูงสุด
  2. คุณ ศิริ หวังบุญเกิด
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
    โฆษกคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร
    ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  3. คุณ ประพจน์ คล้ายสุบรรณ
    ตุลาการศาลปกครอง
  4. คุณ พิสุทธิ์ ศรีขจร
    ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
  5. คุณ เดชอุดม ไกรฤทธิ์
    นายกสภาทนายความ
  6. รศ.น.สพ. ปานเทพ รัตนากร
    คณบดีคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. รศ.นุชทิพย์ บรรจงศิลป์
    คณะกรรมการสมาคมบัณฑิตย์สตรีทางกฎหมาย
    อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
    กรรมการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายครอบครัวและที่เกี่ยวข้อง (กกส.) สำนักนายกรัฐมนตรี
  8. น.สพ.นิรันดร เอื้องตระกูลสุข
    ผู้อำนวยการสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  9. น.สพ. สมภพ ฉัตราภรณ์
    ผู้อำนวยการสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
    สังกัดกรุงเทพมหานคร
  10. คุณ โรเจอร์ โลหนันท์
    นายกสมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)
  11. คุณ พิสิษฐ์ ณ พัทลุง
    อุปนายกสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย
  12. คุณ สุรพล ดวงแข
    เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  13. คุณ พยงค์ ฉัตรวิรุฬห์
    อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  14. คุณ รตยา จันทรเทียร
    ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร