โครงการจะดำเนินงานร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ อาทิเช่น สถาบันการศึกษา โรงเรียน กลุ่มผู้อุปการะสัตว์จรจัด กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนท้องถิ่นโดยทั่วไป โครงการมีเป้าประสงค์ในการสร้างศักยภาพให้แก่บุคลากรในองค์กรเหล่านี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าแต่ละองค์กรมีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดการแก้ปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ และสำคัญที่สุดก็คือโครงการจะได้รับการบูรณาการเข้าไปเป็นหลักสูตรของโรงเรียนเพื่อพัฒนาความรู้และทัศนคติของเยาวชนที่มีต่อสัตว์ โดยโครงการมีกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการพัฒนา ดังต่อไปนี้
- ทำการฝึกอบรมนักเรียน นักศึกษา จำนวน 250 โรงเรียน ทั่วประเทศ
- ทำการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของครูและผู้บริหารโรงเรียนจำนวนประมาณ 500 คน
- ทำการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสัตว์จำนวน 500 คน
- ทำการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพให้แก่เจ้าของผู้ดูแลที่พักพิงสัตว์จรจัดจำนวน 100 คนทั่วประเทศ
- ทำการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพให้แก่องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้นำภาคประชาชนที่ดำเนินงานส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์จำนวน 30 องค์กร
- ทำการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายจำนวน 100 คน
- ทำการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนท้องถิ่นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสวัสดิภาพสัตว์ จำนวน 60 – 100 คน
หมายเหตุ : ในการจัดอบรมแต่ละครั้ง จะทำการสำรวจองค์ความรู้และทัศนคติของผู้เข้าร่วมอบรมเพื่อประเมินความต้องการและความจำเป็นของแต่ละกลุ่ม (Training Needs Assessment) หรือ T-NAT